สวัสดีครับผมเดียวจากดิจิทัชนะครับ จากที่คุณได้ทราบกันในหัวข้อของวันนี้ “เป็นบล็อกเกอร์แล้วไม่ทำเว็บไซต์ ก็เหมือนกินข้าวมันไก่แล้วลืมใส่น้ำจิ้ม” เดี๋ยวจะมาคุยกันครับว่าทำไม ถ้าคุณคิดจะเป็น Blogger แล้วควรจะมีเว็บไซต์เป็นหนึ่งในตัวตนหรือโปรไฟล์บนโลกออนไลน์ของคุณ จากประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยลองทำเว็บไซต์ของตัวเองมานานประมาณนึง และเคยมีโอกาสได้เข้าไปอยู่ในองค์กรที่ต้องการซื้อโฆษณาจาก Blogger ด้วย ทางบริษัทต้องการ Tie-in สินค้า กับ Influencer ทั้งชื่อดังและไม่ดังทั้งหลาย หลายครั้งที่ความต้องการขององค์กรคืออยากได้ทุก channel นอกจากจะอยากได้ engagement จาก Social media ยังต้องการบทความ advertorial บนเว็บไซต์ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทที่อยากจะทำ SEO ให้เว็บไซต์ของตัวเอง จะมีความต้องการ Backlink จากเว็บไซต์ของ Influencer เพราะในมุม SEO แค่โพสบน Social มันไม่พอ แต่คำตอบที่ได้คือ “ยังไม่มีเว็บครับ/ค่ะ มีแต่ Facebook, IG, Youtube ได้ไหม” ด้วย Requirement ที่หัวหน้าสั่งมา Influencer คนนั้นก็ถูกปัดตกไป ทั้งๆที่ ยอดไลค์ ยอด Follow เยอะๆกันทั้งนั้น เสียดายแทนมากๆ และทางผมเองก็งานงอก ต้องหา Blogger ท่านอื่นที่มีเว็บไซต์มาแทน ซึ่งบอกตรงๆ ยังมีไม่เยอะมากในตลาดปัจจุบันครับ หลายๆครั้งก็ต้องซื้อกับคนเดิมๆ มานั่งรวมๆ รายได้ที่ Blogger คนนั้น ได้รับจากบริษัทไป ก็อยากออกนั่งทำเว็บไซต์มาขาย advertorial ให้บริษัทที่ตัวทำงานจริงๆ วันนี้เลยอยากจะมาแชร์ว่าทำไม Blogger อย่างเราๆ ถึงต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองกันครับ
เว็บไซต์เป็นอีกหนึ่งโปรไฟล์ที่คนสามารถเข้ามารับชมเนื้อหาและติดตามเราได้
ก็อย่างที่เราทราบกันว่าเว็บไซต์เป็นโปรไฟล์ที่เราเป็นเจ้าของจริงๆ เราจะอยากทำเว็บไซต์ให้เป็นแบบไหนก็ได้ จะใช้เป็นที่เก็บ Portfolio ผลงานที่ทำ บทความให้ความรู้ที่เคยเขียน จะใช้รวบรวมวิดีโอ พร้อมกับเนื้อหา และรูปประกอบที่อธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจได้อย่างชัดเจน เราสามารถดึงผู้ใช้จาก Social media ต่างๆ เว็บบอร์ด หรือแม้แต่ชวนเพื่อนๆ หรือลูกค้าของเราเข้ามาอ่านบทความเต็มๆ เนื้อหารายละเอียดแบบเน้นๆ ที่เว็บไซต์ของเราได้ และถ้าเจอเนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ ก็สามารถคลิกไปอ่านต่อ การจัดการหมวดหมู่หรือออกแบบให้ผู้คนเข้าหน้าไหน ไปต่อที่หน้าไหน จบที่ไหน หรือจบที่การขายของก็ยังได้ ซึ่งวิธีการเหล่านี้สามารถทำได้ที่เว็บไซต์ของเรานี่แหล่ะครับ และถ้าเราเขียนเนื้อหาดีๆ การเชิญชวนคนให้เข้าติดตามการเขียนบทความของเราก็เป็นอีกช่องทางนึงที่รักษาแฟนๆของเราได้เป็นเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะให้ subscribe email กดติดตาม lineOA หรือกดไลค์ Facebook page
Content บางอย่างเหมาะจะแสดงบนเว็บไซต์มากกว่า Social media platform
หลายๆคนคงเคยอ่านรีวิว, How to หรือบทความที่มีรายละเอียดเยอะๆ ผ่าน Facebook post ใช่ไหมครับ ผมเป็นคนนึงที่คิดว่าถ้ามีบทความที่เนื้อหาดีขนาดนี้ มีคุณภาพขนาดนี้ ถ้าเอาไปลงในเว็บไซต์ คงจะอ่านง่าย ย่อยง่าย เข้าใจได้ง่ายกว่านี้เยอะ แม้แต่ Content ที่เป็นวิดีโอ บางครั้งเราดู ก็ต้องคอยกด Pause กด Play ตลอด เมื่อต้องการทำตามวิดีโอนั้นๆ ผมก็ได้แต่คิดแล้วก็สงสัย…(อยู่ตรงนั้นเธอเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ ดักแก่ซะหน่อย) ว่าถ้าทำเนื้อหาพวกนี้ลงเว็บไซต์ เราคงจะเป็นคนนึงที่เข้าไปอ่าน และกดติดตามอย่างไม่ต้องแน่นอน นั่นแหล่ะครับ ทำให้การมีเว็บไซต์เป็นอะไรที่มีประโยชน์มากๆเลย สำหรับคนชอบแชร์เนื้อหาหรือบทความที่มีรายละเอียดซับซ้อน ต้องมีเนื้อหารายละเอียดเยอะๆ มีรูป มีวิดีโอ มีลิงค์ให้ไปอ่านต่อ ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ติดตามของเราสามารถเข้าใจสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสารได้ง่ายมากขึ้นครับ
ลูกค้าหลายๆคน ต้องการซื้อ Influencer ที่มีเว็บไซต์
ตามที่ผมบอกไปข้างต้น ส่วนตัวเคยอยู่ในมุมของคนซื้อโฆษณาให้บริษัทที่ตัวเองทำงาน และทุกวันนี้ เรื่องการทำ SEO เป็นอะไรที่ทุกบริษัทอยากทำ ดังนั้นการจะใช้ Influencer คนนึงในการรีวิวสินค้า หรือ tie-in สินค้าลงไป นอกจากจะอยากได้ทั้งกระแสจาก Socail media เพื่อสร้างการรับรู้แล้ว ทางบริษัทก็ยังอยากได้ เนื้อหาดีๆ ที่คงทนถาวรบนเว็บไซต์ของ influencer และคะแนน SEO จาก Backlink ที่ติดบนเว็บไซต์ของ Influencer คนนั้นด้วย ทำให้บางบริษัทเกิด requirement ขึ้นมาว่า จะซื้อเฉพาะ Influencer ที่มีเว็บไซต์แล้วเท่านั้น หรือต่อให้เค้าไม่ได้กำหนด criteria ของ Influencer ว่า Blogger คนนั้นต้องมีเว็บไซต์หรือไม่ แต่การมีเว็บไซต์ไป Up sale ก็สร้างรายได้เพิ่มไม่น้อยเลยนะครับ ยิ่งถ้าเป็นการ tie-in บนบทความที่ติด SEO อยู่แล้วใน Keyword ที่มีคนค้นหาเยอะๆ ด้วยจะแพงมากๆ จนเราแทบอยากจะลาออกไปปั้นเว็บไซต์ ปั้น SEO ให้ติดเพื่อมาขาย tie-in โดยเฉพาะกันเลยแหล่ะครับ
ทราฟฟิคจาก SEO ช่างหอมหวาน
หลายๆคนคงเคยได้ยินเรื่อง SEO มาบ้าง เดี๋ยวผมขออธิบายสั้นๆ ว่ามันคือการทำยังไงก็ได้ให้ Google รักเว็บไซต์เรา เอาเนื้อหาของเราไปแสดงในอันดับต้นๆของผลการค้นหา และเราก็จะได้ช่องทางการโปรโมทเว็บไซต์ของเราแบบฟรีๆบน Search engine ที่ใหญ่ที่สุดในโลกครับ จากปกติ สำหรับคนที่ใช้เฉพาะ Social media ในการแชร์เนื้อหาให้ผู้ติดตามได้เข้ามาอ่านกัน โพสที คนก็เข้ามาที หยุดโพส คนก็หาย ใช่ไหมครับ แต่ลองจินตนาการดูนะครับ ว่าถ้าเราเขียนบทความดีๆ ลงบนเว็บไซต์ และบังเอิญ(หรือวางแผนมาแล้ว) ไปติดบน Google เนี่ย เจ้า Google ก็จะพาคนที่ค้นหาคำนั้นๆ เข้ามาอ่านข้อมูลบนเว็บไซต์ของเราทุกวัน แม้จะไม่มีได้มีการโพสอะไรใหม่ๆเลย เวลาคนค้นหาข้อมูลใน google ก็ยังจะเจอเว็บไซต์เราอยู่ดี นี่แหล่ะครับทำไมผมถึงบอกว่า “ทราฟฟิคจาก SEO ช่างหอมหวาน” เพราะเป็นช่องทางการสร้างทราฟฟิคหรือผู้ติดตามแบบฟรีๆ ที่ทำครั้งเดียว แล้วเราก็สามารถเอาไปหากินได้ยาวๆ เลยครับ

การสร้างทราฟฟิคจากเว็บไซต์ ไม่ต้องดังเราก็สามารถเริ่มทำเงินได้
การสร้างชื่อเสียงหลายๆ ผ่าน Social media ทุกคนก็คงทราบดีว่า เราอาจจะต้องดังในระดับนึงถึงจะเริ่มมีทำเงินได้ บางคนทำมาเป็นปี โพสมา 364 โพส แล้วมาปังที่โพส 365 ถึงจะเริ่มทำเงิน โดยที่ก่อนหน้านั้น อาจจะไม่สามารถทำเงินได้เลย ทำใจล้วนๆ แต่ในมุมของการทำเว็บไซต์ เราสามารถสร้างคุณค่าให้ตัวตนของเราได้จากตัวเลขปริมาณคนที่เข้ามาชมเว็บไซต์ของเราครับ และเสน่ห์ของการทำเว็บไซต์คือ ไม่จำเป็นต้องดังก็เริ่มมีคนเข้ามาอ่านเนื้อหาของเราแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งทราฟฟิคจาก SEO ที่ผมกล่าวไปด้านบน ยิ่งทุกวันนี้ พฤติกรรมการค้นหาของมนุษย์เรา ยิ่งมีความเฉพาะเจาะจงมาขึ้นทุกวัน เช่นแต่ก่อนคนอาจจะชอบค้นว่า “รีสอร์ทกาญจนบุรี” แต่จากแนวโน้มการค้นหาในปัจจุบัน จะเริ่มค้นหาแบบ “รีสอร์ทกาญจนบุรี ติดแม่น้ำ มีเครื่องเล่น พักได้ 10 คน” ทำให้โอกาสในการสร้างเนื้อหาที่ตอบโจทย์การค้นหาที่มีความเฉพาะเจาะจงมีมากขึ้น แล้วถ้าเราสะสมเนื้อหาที่ตอบโจทย์ความเฉพาะเจาะจงแบบนี้ไปเรื่อยๆ ทำให้เว็บไซต์ของเรามีปริมาณผู้เข้าชมที่ค่อนข้างคงที่และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เราสามารถเริ่มสร้างรายได้ ได้ไม่ยากครับ
เปิดช่องทางการทำเงินที่มากขึ้น
การเป็น Blogger หลายๆคนอาจจะคิดว่ารายได้หลักๆ น่าจะมาจาก การรับรีวิวสินค้า tie-in สินค้า ใช่ไหมครับ ซึ่งอาจจะเป็นอย่างนั้น ถ้าเรามีโปรไฟล์เฉพาะใน Social media แต่ถ้าเราเริ่มมีเว็บไซต์เมื่อไหร่ โลกแห่งช่องทางการหาเงินออนไลน์ที่หลากหลายจะถูกเปิดขึ้นครับ ไม่ว่าจะเป็น
- รับลงแบนเนอร์โฆษณาจากลูกค้าตรงๆ
- รับทำ advertorial ซึ่งคล้ายๆกับรับรีวิว แต่เนื้อหาจะอยู่บนเว็บไซต์ในลักษณะของบทความที่เราสามารถใส่รายละเอียดลงไปได้มากกว่า และจากประสบการณ์ แบบนี้แพงกว่าครับ
- ติด Banner โฆษณาการ Google adsense
- ทำ affiliate ให้คนคลิกซื้อของผ่านลิงค์บนเว็บไซต์ของเรา เมื่อคนซื้อเราก็ได้ค่าคอมมิสชั่น
- เปิดส่วนที่เป็น Ecommerce ขายของ แม่งซะเลย
- การขาย Content premium หรือคอร์สสอนอะไรบางอย่าง
ตัวอย่าง affiliate network ในไทย
เห็นไหมครับ เราสามารถใส่ไอเดียการทำเงินผ่านเว็บไซต์ต่อยอดได้เยอะแยะเลย รอช้าอยู่ทำไม มาเริ่มทำเว็บไซต์ของเรากันเถอะครับ
รายได้จากโฆษณาบนเว็บไซต์ค่อนข้างแน่นอน
จากที่เล่าให้ฟังด้านบนทั้งเรื่องปริมาณผู้เข้าชมและรูปแบบการทำเงิน ทำให้รายได้จากโฆษณาบนเว็บไซต์ค่อนข้างแน่นอนครับ อาจจะไม่หวือหวาเหมือนเวลามีลูกค้ามาจ่ายเงินให้รีวิวใน Social media (ซึ่งก็ต้องดังในระดับนึง ถึงจะมีลูกค้าเข้า) แต่รายได้จากเว็บไซต์ของเราขึ้นอยู่กับปริมาณผู้เข้าชมเว็บไซต์ของเราครับ ถ้าเราปั้นเนื้อหาเว็บของเราดีๆ มีคนเข้าชมอย่างสม่ำเสมอ รายได้จากค่าโฆษณาผ่าน platform ต่างๆ ที่ผมเล่าให้ฟังในหัวข้อก่อนหน้า (Google adsense, affiliate แม้แต่ยอดจากการขายของหรือขายคอร์ส) จะค่อนข้างแน่นอนมากๆ ครับ ทำให้ Blogger อย่างเราสบายใจได้ในระดับนึงว่าถ้าไม่มีลูกค้าเข้าในเดือนนี้ เราก็ยังมีรายได้จากส่วนอื่นๆ เพิ่มขึ้นมาให้พอชื้นใจขึ้นมาบาง

ไม่เสียโอกาสในการใช้ Social media ลากคนเข้าไปอ่านเนื้อหาในเว็บไซต์ เพิ่มปริมาณผู้เข้าชมและรายได้
หลายๆคน มีคนติดตามใน Social media เยอะมากๆ แบบว่าโพสที คนไลค์ คนแชร์ หลักหมื่น หลักแสน แต่โพสนั้นอาจจะเป็นคอนเท้นที่เราทำฟรี ไม่ใช่ content ที่เราลูกค้าจ้าง ซึ่งก็แน่นอนครับ สิ่งที่ได้เพียงอย่างเดียวจากโพสนั้นก็คือ ตัวเลขคนไลค์คนแชร์ อาจจะเอาไว้ขายลูกค้าอีกที แต่ลองคิดดูนะครับ ถ้าเรามีเว็บไซต์ แล้วเราใส่ลิงค์ให้ผู้ที่เข้าชมหรือติดตาม เข้าอ่านเว็บไซต์ของเราต่อ นอกจากผู้อ่าน จะสามารถอ่านรายะเอียดที่เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น เรายังมีโอกาสที่เราจะทำเงินจากปริมาณผู้เข้าชมนั้นๆ เช่น Google Adsense เค้าจ่ายเงินเราเป็น click หรือ Impression คนเข้าเยอะ โอกาสทำเงินก็เยอะ หรือจะใส่ link affiliate เผื่อคนที่อ่านสนใจคลิกไปซื้อของที่แทรกอยู่ในเนื้อหาเราก็ได้ตัง แถมเรายังได้ตัวเลขปริมาณการเข้าชมเนื้อหานั้นๆ เอาไปขายลูกค้าอีกทีด้วยครับ
เป็นคลังเก็บ Content และผลงานของเรา
การโพสลง Content ลงบน Social media เหมือนการทำเนื้อหาลงบนหน้า Feed ข่าว ที่โพสไปแล้ว วันนึงมันก็จะโดเนื้อหาอื่นๆ ดันลงไป และหายไปกับสายลม หรือบางคนจะทำเป็น Album เก็บไว้บนเพจ การที่คนจะเข้าไปอ่าน ก็ทำได้ค่อนข้างยาก จะจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาก็ทำได้ไม่สะดวกเท่าที่ควร แต่ถ้าคุณสรา้งเนื้อหาบนเว็บไซต์ ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปครับ จริงมั้ย ซาร่า โอ้ว มันยอดมาเลยจอร์จ….จอร์จ _่อง บ้าบอ โอเคครับ ก็ตามที่ผมพูดมา เนื้อหาบนเว็บไซต์ของเรา มันไม่ได้หายไปไหน ถ้าเราจะหมวดหมู่ของเว็บไซต์เราดีๆ คนที่อยากกลับเข้ามาเนื้อหาของเรา ก็สามารถเข้ามาค้นหาได้ไม่ยาก แถมเรายังได้ปริมาณผู้เข้าชมที่มากขึ้น …และแน่นอนคนดีๆอย่างเรา ก็จะได้เงินเยอะขึ้นครับ
การทำเว็บไซต์ ไม่แพงและไม่ยากอย่างที่คิด
อีกหนึ่งอุปสรรคที่ Blogger หลายๆ คนไม่ได้ทำเว็บไซต์ซักที ทั้งๆ ที่รู้ว่า มีแล้วมันดียังไง ก็คือคิดว่าการทำเว็บไซต์ต้องมีต้นทุนที่แพงมากๆแน่เลยแกร ไหนจะค่าโดเมน ค่าโฮส ค่าติ้งตั้งครั้งแรก ค่าออกแบบ ค่าทำฟังก์ชั่นฟีเจอร์ต่างๆ ที่ลองๆหาดูและฟังคนอื่นมา แค่เริ่มต้น ก็มีหลักหลายๆพัน หรือหลักหมื่นขึ้นไป ทำให้ไม่ได้เริ่มทำเว็บไซต์ของตัวเองซักที วันนี้ผมเดียวจากจะขอนุญาติแฉต้นทุนการทำเว็บไซต์ฉบับคนที่ต้นทุนน้อย อะไรทำเองได้ ก็อยากทำเอง เวลาเยอะ เงินน้อย ไว้ที่บทความนี้ครับ “จริงๆแล้วต้นทุนการทำเว็บไซต์มันเป็นกี่บาท” ถ้าขี้เกียจอ่านเดี๋ยวผมเล่าให้ฟังคร่าวๆ ว่าถ้าเริ่มแบบทำเองหมด ที่ถูกที่สุดที่แนะนำก็จะมีแค่ค่าโฮสค่าโดเมนต้นทุนจะอยู่เพียงแค่ปีละประมาณ 1680 บาท หรือ 140 บาทต่อเดือน หรือ 4.60273972603 บาทต่อวัน คำนวนให้ดูกันอย่างกับโฆษณาขายประกันกันเลยนะครับ ที่คำนวนให้ดูแค่อยากจะบอกว่า ทำเถอะพ่อคุณ แค่เดินไปเซเว่นหน้าปากซอยก็หมดเยอะกว่านี้แล้ว ส่วนวิธีการทำ ปรับแต่งหน้าตาเว็บไซต์ ก็มีสอนใน Youtube เต็มไปหมด หรือจะมาปรึกษาผมก็ได้ครับ…..ได้เวลาขายของแล้วครับ